ทรัพยากรบุคคล



อาจารย์อภินันท์ สิริรัตนจิตต์





การศึกษา


ประวัติ

การศึกษา

พ.ศ. 2549 ค.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ประเทศไทย

พ.ศ. 2546 พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย

วุฒิการศึกษาพิเศษ  เปรียญธรรม 3 และนักธรรมชั้นเอก

ประกาศเกียรติคุณ โล่รางวัล ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2564 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

_______________

รางวัลหรือผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ

พ.ศ. 2551       ได้รับรางวัลนักเขียนรางวัลพานแว่นฟ้า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาในการประกวดวรรณกรรมการเมืองสร้างสรรค์  

พ.ศ. 2553       เป็น 1 ใน 20 คน ของประเทศไทย ที่สอบผ่านเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน

พ.ศ. 2556       ได้รับรางวัล นักเขียน รางวัลเกียรตินิยมวรรณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการประกวดวรรณกรรมรางวัลเกียรตินิยมวรรณศิลป์ ชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ

 พ.ศ. 2560       ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการรณรงค์สืบงานความเป็นพลเมืองด้วยงานวรรณศิลป์จากสถาบันพระปกเกล้า (๑๐๐ คน จากทั่วประเทศ)

พ.ศ. 2563       ได้รับคัดเลือกผลงานบทกวีสร้างสรรค์ จากกระทรวงวัฒนธรรมจากโครงการ โควิดเปลี่ยนเรา เรื่องเล่าเปลี่ยนโลก

พ.ศ. 2564       ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เป็น ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น กระทรวงวัฒนธรรม


ความเชี่ยวชาญ

ผลงานวิจัย     

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์และยุวัลดา ชูรักษ์.  (2555). รูปแบบการเรียนรู้ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.  สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2556).  การวิเคราะห์เนื้อหาจริยธรรม ในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ชุดก่อกองทรายของไพฑูรย์ ธัญญา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2556). พฤติกรรมการใช้เวลาว่าง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นธี เหมมันต์ และอภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2558).  สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นธี เหมมันต์ และอภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2559). ประสิทธิภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาบัญชี ในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2559). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประเทศไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญจา ชูช่วย ดร. ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และจิรวัฒน์ นนทิการ.  (2561).การลดอัตราการลาออกกลางคันและแนวทางการส่งเสริมการศึกษาต่อในสถาบันอาชีวศึกษาของเยาวชน ในเขตพื้นที่เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้.  ได้รับทุนสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2562). การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่สร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรครู 5 ปี ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดสงขลาสงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ยุวัลดา ชูรักษ์ ปัญจา ชูช่วยและอภินันท์ สิริรัตนจิตต์.  (2562). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหนังตะลุงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.  สงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศิวัช บุญเกิด ปัญจา ชูช่วย และอภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2564). การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหิน สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน. บพท. สอวช. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และคณะ. (2564). การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน. บพท. สอวช. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม.

กิตติพงศ์ สุวรรณวงศ์ อภินันท์ สิริรัตนจิตต์และกัลยา ตันสกุล. (2566). การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ชุมชนร่วมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สกสว. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม. (กำลังดำเนินการ)

 _____________________________________

 

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และยุวัลดา ชูรักษ์. (2555). รูปแบบการเรียนรู้ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.  ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2557).  พฤติกรรมการใช้เวลาว่าง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ครั้งที่ 2.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2557). พฤติกรรมการใช้เวลาว่างกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 5.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2557). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มศว. วิจัย ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. 

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2557). จริยธรรมในเรื่องสั้น รางวัลซีไรต์ของประเทศไทย เรื่องก่อกองทราย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 33 ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์และนธี เหมมันต์. (2558). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษา: บทพิสูจน์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา.ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ พุทธศักราช 2558.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เวลาว่างกับรูปแบบการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.

นธี เหมมันต์ และอภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2559).  การเปรียบเทียบสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.  วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ปรากฏ ในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ชุดก่อกองทราย. 

วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35.  

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ นธี เหมมันต์ และสมชัย ปราบรัตน์. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านวิธีการวิจัยในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 9.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ นธี เหมมันต์ และสรัญญา โยะหมาด.  (2560).  การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสาระของงานวิจัย ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.  ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 9. 

นธี เหมมันต์ อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ สมชัยปราบรัตน์ และสรัญญา โยะหมาด. (2561) . กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามการรับรู้ของนักศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาบัญชี

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.  วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.

พระมหาไพศาล วิสาโล  พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต พระครูประโชติกิจโกศล  อรุณ นิลสุวรรณ  ประพัตร ยอดทอง และอภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2561).  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีของนิสิตคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการ จังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์และพระมหาไพศาล วิสาโล. (2563). การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีของนิสิต คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหน่วยวิทยบริการ จังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 11. 

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2563).  แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปที่สร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรครู 5 ปี ของสถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดสงขลา.ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 11. 
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2564).  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปและการบริหารจัดการหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ที่สร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรครู 5 ปีในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 12. 

Somchai Prabrat Hakim Samaae Saranya Yohmad  Natee Hemman  Aphinant Sirirattanajitt and Oratai Chanplong. (2018).  Work Motivation of the Employees Working at Manufacturing Business Sectors Located in Songkhla Province. The 9th Hatyai National and International Conference.

 ________________________________________

 

ผลงานแต่ง  เรียบเรียง  แปล ตำรา เอกสารประกอบการสอน     

พ.ศ. 2555     หนังสือ กวีนิพนธ์ไทย

พ.ศ. 2557     ตำรา ชีวิตกับวรรณกรรม

พ.ศ. 2558     หนังสือ มาตรฐานวิชาชีพครู: การพัฒนาหลักสูตร

พ.ศ. 2558    หนังสือ มาตรฐานวิชาชีพครู: คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พ.ศ. 2561     คู่มือครู การพัฒนาหลักสูตร รายกลุ่มสาระการเรียนรู้

พ.ศ. 2558-2564    หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คทั่วไปอาทิ  ในโลกแห่งความรัก เดอะแคปชั่น คำปั้นแรงบันดาลใจ วรรณกรรมที่รัก ช่องว่างประเทศไทย  กรุณารัดเข็มขัดทางการศึกษา สำคัญที่วิธีการ

ขุดขุมทรัพย์ในตัวคุณ สร้างต้นทุนสู่ความมั่งคั่ง ผ่านบันได 5 ขั้น จากเด็กกำพร้าเป็นมหาด็อกเตอร์ และโลกนี้เป็นของนักเล่าเรื่อง  

________________________________________

 

ผลงานการทำงานภาคประชาสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

พ.ศ. 2549   ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องโครงการ English Program

พ.ศ. 2554    ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่

พ.ศ. 2554     ได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษา แก่โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่

พ.ศ. 2555      ได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาชมรมครูผู้ดูแลเด็ก ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

พ.ศ. 2554-2556  ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคใต้ เพื่อร่วมพัฒนาวิชาการและ กิจกรรมนักศึกษา ในวิชาศึกษาทั่วไป ของเครือข่ายภาคใต้

พ.ศ. 2561       ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานโครงการวิจัย ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 เพื่อพัฒนาเรื่องการปฏิรูปการศึกษา

พ.ศ. 2564       ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานการพัฒนาหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ ตามวิสัยทัศน์แผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลเมืองหัวหิน

พ.ศ. 2565      ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการ “เพชรบุรีโมเดล” ด้านการปฏิรูปพืชข้าว ในส่วนคณะทำงานพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ และฝ่ายผลิต

พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

_________________________________________

 

ประวัติการเป็นวิทยากรและการบริการวิชาการ

พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน  เป็นวิทยากรฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนา “หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้” ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน  เป็นวิทยากรฝึกอบรม เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษา ภาคใต้

พ.ศ. 2560   เป็นอาจารย์พิเศษ บรรยาย เรื่อง “การวิจัยทางการศึกษา” สำหรับนิสิตปริญญาโทในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน  เป็นวิทยากร บรรยาย เรื่อง การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและธุรกิจ

พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน  เป็นวิทยากร บรรยายเรื่อง “แผนพัฒนาท้องถิ่น” ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ. 2565  เป็นวิทยากร บรรยายเรื่อง “การใช้ภาษาและการสื่อสารเพื่อพัฒนาผู้นำ”

พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักเกณฑ์ใหม่ (ว PA)


รหัสปี ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3 หลักสูตร รหัสวิชา ชื่อวิชา วันที่โพสข้อมูล
                 
...